Trending News

Subscribe Now

ทิศทางการทำการตลาด 2021 สำหรับแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์

ทิศทางการทำการตลาด 2021 สำหรับแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์

Article | Digital Marketing

คุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO แห่ง #Wisesight จัดงานแถลงข่าวงานประกาศผลรางวัล Thailand Zocial Awards 2021 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 2564 ให้เราได้เตรียมลุ้นกันว่าใครจะได้รางวัล The Best of The Year บุคคลแห่งปีบนโลกโซเชียลในสาขาต่าง ๆ, แบรนด์ไหนสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างโดดเด่น, สื่อไหนมีนวัตกรรมน่าจับตามอง, และ Special Award ที่ต้องขอยกให้เป็นพิเศษ 

ในงานเสวนารอบสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่เพิ่งผ่านมา CREATIVE TALK อาสาเก็บทิศทางการทำการตลาดผ่าน Influencer มาฝากในหัวข้อ “How to measure success of social media performance”

ร่วมให้ความรู้โดย Mentors ทั้ง 6 ท่าน ได้แก่ คุณกิตติพัฒน์ มหพันธ์ (BUZZPURR), คุณพงษ์ปิติ ผาสุขยืด ( Ad Addict), คุณพันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง (AnyMind Group), คุณมัณฑิตา จินดา (Digital Tips Academy), คุณสโรจ เลาหศิริ (Rabbits Digital Group), และคุณชัยวุฒิ ผาติภากร (POPS Thailand) และ คุณสิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO & Founder rgb72

แนวทางสำหรับเจ้าของแบรนด์

  • แบรนด์ควรมีท่าทีจริงใจ แสดงออกว่าคำนึงถึงสังคมและใส่ใจสิ่งแวดล้อม คอยบาลานซ์ระหว่างเมสเซสที่แบรนด์อยากบอกกับความต้องการอยากรู้อยากฟังของกลุ่มเป้าหมาย
  • ต้องขยันสร้างบทสนทนา ปั้น Community ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ยึดติดแพลตฟอร์ม แต่ต้องรู้ว่าจะป้อนคอนเทนต์แบบไหนให้เหมาะกับช่องทางนั้น ๆ ไม่ควรใช้เมสเซสเดียวกันหว่านทำการตลาดทุกที่ ควรจะต้องศึกษาธรรมชาติของคนแต่ละแพลตฟอร์มให้ดีก่อน เช่น ถ้าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่น ชอบเสพความบันเทิง ก็ควรไปลองทำการตลาดผ่าน TikTok ให้ต่อเนื่องแล้วค่อยต่อยอดหาทางเสนอขาย
  • แบรนด์ต้องกลับมาทบทวนจุดยืน (Purpose) หรือ DNA ของแบรนด์ให้ชัดเจน เพื่อจะแน่ใจว่าควรใช้ matric ไหนมาใช้วัดผล 
  • ลูกค้าเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา ยุคนี้ผู้บริโภคฉลาด ช่างเลือก และอย่าดูถูกพลังของชาวโซเชียลที่มี วิวัฒนาการมาจากนักสืบพันทิปจนมาถึงเพจแฉต่างๆ หากอยากเรียนรู้ทำความเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น เพื่อหลึกเลี่ยงแตะถูกประเด็นละเอียดอ่อน ต้องอาศัย AI มาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ผล Data ช่วยตีความเชิงลึก หาค่า Sentiment เพื่อสำรวจความรู้สึกนึกคิดที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ เพื่อนำมาต่อยอดสร้างแคมเปญที่ชนะใจลูกค้า โดยควรเลือกโฟกัสช่องทางใดช่องทางหนึ่งให้ติดตลาดก่อนถึงค่อยขยับขยาย 
  • หมดยุค Traditional Social Media Marketing อย่าวางมีเดียแพลนแบบตายตัว ควรยืดหยุ่น เน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ และไม่ลืม Optimize Content อยู่เสมอ  คอยติดตามสถานการณ์กันวันต่อวัน พร้อมปรับเปลี่ยนกระบวนท่า เชื่อมโยงกับเทรนด์ให้เป็นผลบวกต่อแบรนด์ อย่าตามหาสูตรสำเร็จ ไม่ควรยึดติดแต่กับตัวเลข Data มากจนเกินเหตุ เพราะเป้าประสงค์ที่แท้จริง คือควรหมั่นปรับปรุงเรื่องเล่าของเราให้ดีอยู่เสมอ ไม่มีอะไรเป็นที่สุด 
  • พัฒนาระบบซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของตัวเองหรือใช้ Marketplace จะต้องสร้างประสบการณ์การซื้อที่น่าประทับใจ เมื่อแบรนด์ส่งตรงถึงมือลูกค้าเอง โดยไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย จำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงให้ดี
  • ศึกษาเจาะ Data Privacy หาวิธีเข้าไปมีส่วนร่วมเปิดและปิดการขายผ่าน Close Group เฉพาะกลุ่มที่ไม่เปิดสาธารณะ แต่ต้องระวังจะถูกปิดกั้นการเข้าถึงหากรุกล้ำยัดเยียดขายของจนเกินงาม
  • ควรจ้างเอเจนซีที่ทำ KOL Marketing ครบวงจร ตั้งแต่งานคัดเลือก Influencer ดูแลมอนิเตอร์ไม่ให้เกิดดราม่าบนโลกโซเชียล และทำรายงานบทวิเคราะห์ลงลึกเพื่อกลับมาพัฒนา Performance
  • อย่าลืมเรื่องสำคัญที่ยังต้องทำในระยะยาว นั่นคือการสร้าง Brand Awareness เพื่อเพิ่ม Brand Love 

แนวทางสำหรับอินฟลูเอนเซอร์

  • ปีนี้แบรนด์งบน้อยลง ดังนั้นอินฟลูเอนเซอร์ต้องคิดอัตราค่าตอบแทนอย่างสมเหตุสม สร้าง Conversion ยอดขายได้จริง จึงต้องมีความเข้าใจ Customer Journey ของแบรนด์นั้นๆ และศึกษาการตลาดแบบ Affiliate Marketing เพื่อจะตอบโจทย์เอเจนซี่และแบรนด์มากยิ่งขึ้น ซึ่งปีนี้จะเพิ่มมาตรวัดผลที่ละเอียดตามแต่เป้าประสงค์ของแต่ละแบรนด์ 
  • อินฟลูเอนเซอร์จะยิ่งแข่งขันกันเองสูง แข่งกันแย่งเวลาผู้ติดตามข้ามแพลตฟอร์ม จึงต้องทำการบ้าน ใส่ไอเดียครีเอทีฟอย่างหนัก และต้องคอยปรับเปลี่ยนตามธรรมชาติของผู้คนแต่ละแพลตฟอร์ม
  • บุคลิกของอินฟลูเอนเซอร์ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมติดตาม มักจะเป็นกันเองเข้าถึงง่าย จับต้องได้ ดูเรียล ไม่ประดิษฐ์ และเป็นตัวของตัวเองสูง แต่ก็ยังมีความน่าเชื่อถือมากพอที่ผู้บริโภคจะเปิดใจทดลองซื้อสินค้ามาใช้ตาม ต้องคอยใส่ใจชวนคุยตอบกลับคอมเมนต์ สร้างความผูกพันให้คนอยากเอาใจช่วย อยากให้สปอนเซอร์เข้า
  • ผู้ติดตามสนใจความสนุกและเนื้อหาคอนเทนต์มากกว่าโปรดักชัน จึงไม่จำเป็นต้องมีฉากอลังการ ตัดต่อถ่ายทำใส่เอฟเฟ็กง่ายๆ ฉบับคนงบน้อยก็ไม่ติด แล้วอนาคตค่อยพัฒนาให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
  • ต้องขยันเก็บสถิติอย่างจริงจัง เพื่อเป็นข้อมูลนำเสนอตัวเอง และใช้ต่อรองทำข้อตกลงร่วมกับแบรนด์ก่อนรับงาน สามารถพิสูจน์ได้ว่าลงไปเล่นกับลูกค้าท่าไหนถึงจะได้ผลตอบรับดี แค่ไหนที่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ สามารถส่งไม้ต่อให้นักการตลาดนำไปใช้ทำรายงานสรุปการวัดผลที่ถูกต้องแม่นยำ โปร่งใส และน่าเชื่อถือ

Related Articles

ถอดรหัสเบื้องหลังการพูดของทิม พิธา และพรรคก้าวไกล

ในช่วงนี้เปิดโซเชียลไปทางไหนต่างก็ต้องเห็นหน้าของคุณทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถ้าใครได้สังเกตการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง คุณพิธาจะมีสไตล์การพูดที่ชัดเจนและดึงดูดผู้ฟัง จนรู้สึกว่าถ้าพูดได้แบบนี้คงมีเสน่ห์เพิ่มขึ้น มาลองดูเทคนิคหรือรหัสลับเบื้องหลังการพูดของทิม พิธา และพรรคก้าวไกลกัน

Article | Living

ไอเดีย Zero Waste แบรนด์ต่าง ๆ

วิกฤตขยะพลาสติกล้นโลกไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานและมีปริมาณมากขึ้นทุกวัน… ซึ่งขยะพลาสติก 1 ชิ้น ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปี!!! มาดูกันแบรนด์ต่าง ๆ จะตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการปรับตัวต่อวิกฤติขยะที่กำลังเป็นวาระของโลกกันอย่างไรบ้าง…

Article | Digital Marketing