Trending News

Subscribe Now

วิธีตั้งเป้าหมายทางการตลาดด้วย SMART goal

วิธีตั้งเป้าหมายทางการตลาดด้วย SMART goal

Article | Digital Marketing

ระหว่างที่ผมหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งรวมความรู้และอัปเดตทิปต่าง ๆ ของการทำ Facebook marketing แล้วไปเจอบทความหนึ่งที่น่าสนใจและอยากแชร์ให้กับผู้อ่าน Creative Talk Live ทุกท่านครับ

ครั้งนี้จะแนะนำให้รู้จักวิธีการตั้งเป้าหมายการทำการตลาดดิจิทัล ด้วย SMART goal กันครับ

ทำไมการตั้งเป้าหมายจึงสำคัญมาก ๆ 

เพราะการตั้งเป้าหมาย ทำให้นักการตลาดอย่างเราสามารถโฟกัสกับเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จกับน้ำพักน้ำแรง และงบประมาณของเรานั่นเองครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราต้องทำงานเป็นทีมหรือมีเอเจนซีช่วยดูแล เราจะได้กำหนดวิธีการวัดผลได้ชัดเจนว่า ทีมงานและเอเจนซีทำงานถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ครับ

มาทำความรู้จักกับ SMART goal กัน!

เอาง่าย ๆ เลย มันคือการตั้งชื่อให้จำง่ายและท่องให้ขึ้นใจนั่นเอง ตัวอักษรในคำว่า SMART แต่ละตัวแทนสิ่งที่เราต้องยึดถือไว้ทุกครั้งที่ต้องการตั้งเป้าหมายครับ มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันได้เลย

1. S – Specific

เป้าหมายต้องชัดเจนและเจาะจงครับ เราต้องสามารถเขียนเป้าหมายออกมาในแบบที่ ไม่ว่าใครอ่าน ก็ต้องสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น ขายสินค้าให้ได้ 100 ชิ้น ได้คนลงทะเบียน 200 คน หรือได้ lead ที่มีคุณภาพจำนวน 20 คน เป็นต้น

2. M – Measurable

ต้องวัดผลได้ โดยตั้งเป็นจำนวนที่นับได้ หรือมูลค่ายอดขาย หรือแม้แต่วัด cost (เช่น cost per visit, cost per view เป็นต้น) อย่าตั้งเป้าหมายที่เป็นแค่กิจกรรม เช่น อย่าตั้งเพียงแค่ว่ามีคนอ่านข้อมูลในเว็บไซต์ แต่ให้ระบุไปเลยว่าจะมีคนเข้าเว็บไซต์กี่คน หรือไม่ใช่แค่มีคนดูวิดีโอ แต่ให้ระบุไปเลยว่าจะมียอดคนดูกี่ view และ cost per view เท่าไหร่

3. A – Achievable

เป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ สามารถทำได้จริงตามทรัพยากรที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทีมหรืองบประมาณ อย่าตั้งยอดขายเป็น 10 ล้าน แต่มีงบการตลาดเพียงหมื่นเดียวแบบนี้ครับ แบบนั้นคือไม่สามารถทำได้จริง

4. R – Relevant

เป้าหมายต้องเป็นแนวทางเดียวกับทิศทางภาพใหญ่ของธุรกิจ เช่น หลังจาก COVID-19 คนเดินเข้าร้านน้อยลงไปมาก แต่มียอดการสั่งซื้อผ่านออนไลน์มากขึ้น ทำให้กลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะต่อจากนี้คือ ต้องการให้มีคนสั่งผ่านออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นเราจะต้องตั้งเป้าหมายที่จะต้องเพิ่มคนสั่งซื้อผ่านออนไลน์ แทนที่จะตั้งเป้าเป็นจำนวนคนเดินเข้าร้านครับ

5. T – Time-bound

ต้องมีระยะเวลาชัดเจนว่าจะถึงเป้าหมายภายในเมื่อไหร่ การตั้งระยะเวลาชัดเจนเพื่อให้เราสามารถกำหนดว่า จะวัดผลได้เมื่อไหร่ได้อย่างชัดเจน เช่น ภายในไตรมาสนี้ ภายในสิ้นปี ภายในเดือนนี้ เป็นต้นครับ

ตัวอย่างการนำ SMART goal มาตั้งเป้าหมาย

ร้านอาหาร A ตั้งเป้าว่า จะต้องมีคนสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉลี่ยจำนวน 50 ออเดอร์ต่อวันภายในสิ้นเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 

  1. แน่นอนว่าชัดเจน (Specific) 
  2. วัดผลได้ (Measureable) 
  3. สามารถทำได้จริง (Achievable) อย่างไรก็ดี ข้อนี้แต่ต่างกันไปในแต่ละธุรกิจนะครับ ตัวอย่างนี้คือ ร้านอาหาร A ได้ทำการตลาดมาสักพักแล้ว บวกกับมีการจัดการและรองรับการสั่งออนไลน์ที่ดีมาก ดังนั้นการให้มีคนสั่งอาหารออนไลน์ 50 คนต่อวันสามารถทำได้จริง 
  4. เป็นแนวทางเดียวกับกลยุทธ์ของธุรกิจ (Revevant) ตัวอย่างนี้สมมุติว่า ร้านอาหาร A มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ต้องการเพิ่มการสั่งอาหารออนไลน์และส่งถึงบ้านลูกค้า เพราะหลังจาก COVID-19 คนเดินเข้าร้านน้อยลง
  5. มีระยะเวลาที่ชัดเจน (Time-bound) ตั้งไว้ว่าต้องทำให้ถึงเป้าได้ภายในสิ้นเดือนตุลาคม

ลองนำ SMART goal ไปใช้วางแผนการทำการตลาดดิจิทัลของทุกท่านดูนะครับ ผมเชื่อว่าเมื่อนำมาใช้อย่างถูกต้องแล้ว เราจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับตัวเองและทีมงาน ร่วมทั้งเราจะได้ชัดเจนว่า จะวัดผลการทำการตลาดได้แบบไหน อย่างไรครับ ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับการลงทุนในการทำการตลาดของแบรนด์และธุรกิจของทุกคนดีขึ้นแน่นอนครับ

ข้อมูลประกอบจาก https://www.facebook.com/business/learn

คุณณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Co-Founder at The Flight 19 Agency

เรื่อง : ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Co-Founder The Flight 19 Agency

Related Articles

ออกแบบตัวอักษรเองก็ได้ ง่ายกว่าที่คิด

วันนี้เรามีแอปฯ ที่จะช่วยคุณเสกการออกแบบตัวอักษรเฉพาะตัวแบบง่ายๆ แค่ปลายนิ้วเท่านั้น “Touch Type” เป็นโปรแกรมจากเยอรมันพัฒนาโดย Schultzschultz

Article | Creative/Design

4 แอปฯ ฟรี ดีต่อ WFH!

คนทำงานหลายคนอาจจะเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศกันแล้ว แต่เราก็เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังต้องทำงานแบบ Work From Home หรือแบบ Hybrid กันอยู่

Article | Living

ตั้ง KPI การทำ Social Media Marketing ด้วย Audience Experience 4 แกน

สำหรับนักการตลาดที่ทำ social media marketing มาพอสมควรแล้ว คงจะพอทราบนะครับว่าปัจจุบันการวัด performance โดยดูแค่ engagement หรือจำนวนคนกด reaction / comment / share หรือ retweet ในแต่ละโพสต์นั้น ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วครับ หรือแม้กระทั่งการวัดเรื่องของ awareness เพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่พอสำหรับบาง campaign…

Article | Digital Marketing