Trending News

Subscribe Now

กราฟแสดงผู้ติดเชื้อโควิด19 กับความลับของดีไซน์ที่ซ่อนอยู่

กราฟแสดงผู้ติดเชื้อโควิด19 กับความลับของดีไซน์ที่ซ่อนอยู่

Design You Don't See | Podcast

กราฟเส้นที่แสดงอัตราการติดเชื้อของแต่ละประเทศที่ทุกคนเคยเห็นกันเป็นประจำ เส้นที่ปัจจุบันของไทยเป็นเส้นโค้งและกำลังแบนเรียบ ไม่รู้ว่ามีใครเคยสังเกตไหม แต่ที่แกน Y (แกนแนวตั้ง) ของกราฟโควิด19 นี้ วางตัวเลขไว้ไม่เหมือนกับปกติที่เราทำกราฟกันอยู่ทุกวัน

ปกติเราจะทำกราฟโดยจัดตัวเลขให้เติบโตในระยะเท่า ๆ กัน เช่น ทุก ๆ 1 ช่องจะเท่ากับ 100 ดังนั้นช่องที่ 2 จะเป็น 200, 300, 400 ต่อไปตามลำดับ วิธีการวาดแบบนี้เขาเรียกว่าเป็น Linear Scale แต่สำหรับกราฟโควิด19 นั้น เขาวางตัวเลขให้มีอัตราการเติบโตรวดเร็ว ขนาด x10 (คูณ 10) หรือที่เรียกว่า “Logarithmic” หรือ “Log Scale” จึงทำให้กราฟแกน Y มีตัวเลขดังนี้ 100, 1000, 10000

หมายความว่า 1 ช่องของด้านล่างเท่ากับจำนวนผู้ติดเชื้อ 100 คน แต่อีกหนึ่งช่องถัดมาหมายถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ 1000 คน ทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น?

กราฟแบบ “Logarithmic” หรือ “Log Scale” นั้นใช้เมื่อต้องการแสดงให้เห็นตัวเลขที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แบบก้าวกระโดด หรือ Exponential Growth ซึ่งเคยใช้กับการขยายพันธุ์ของสัตว์ และแน่นอนกับในเคสนี้คือ การระบาดของไวรัสโคโรน่า

แล้วทำไมจึงต้องใช้ Log Scale?

ให้ลองนึกตัวเลขผู้ติดเชื้อของสหรัฐอเมริกาและไทย ถึงแม้จะจำตัวเลขเป๊ะ ๆ ไม่ได้ แต่เราจะรู้ว่าตัวเลขของอเมริกาโตไวกว่าไทยแน่นอนและสูงกว่ามาก ถ้าใช้กราฟแบบปกติ (Linear Scale) ซึ่งนั่นทำให้คนในประเทศไทยไม่รู้สึกตื่นตัวใด ๆ ตรงกันข้ามอาจจะรู้สึกว่าเรามีผู้ติดเชื้อน้อยมาก และทำให้เราไม่ระวัง

เท่านั้นไม่พอ การวาดกราฟเช่นนี้ทำให้เรามองเห็นภาพใหญ่ ถ้าประเทศที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือ Exponential Growth แล้วละก็ เส้นกราฟจะวิ่งพุ่งเป็นแนวทแยง ดังนั้น ไม่ว่าประเทศนั้นจะมีผู้ติดเชื้อมากหรือน้อย แต่ถ้าวิ่งไปในเส้นทางเดียวกันแล้ว แสดงว่ามีการเติบโตของจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว และต้องทำการเฝ้าระวังให้มากขึ้น

ขณะเดียวกัน ถ้าประเทศไหนเริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง เส้นกราฟจะแบนราบลงอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัดกว่าการวางแบบ Linear Scale จึงทำให้ประชาชนเห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่า การทำ Social Distance หรือการป้องกันที่ทำอยู่นั้นเริ่มจะได้ผลขึ้นมาจริง ๆ

แม้แต่กราฟที่ดูซีเรียสของหน่วยงานด้านสาธารณะสุขก็ยังมีซ่อนดีไซน์ที่พยายามสื่อสารให้คนหมู่มากได้เข้าใจได้ง่าย ๆ 

ติดตาม Design You Don’t See บนช่องทาง


บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

การรับคนเข้าทำงานที่ผิดพลาดของหัวหน้ามือใหม่

จาก “ลูกน้องมืออาชีพ” สู่ “หัวหน้ามือใหม่” เลือกลูกน้องยังไงให้มีประสิทธิภาพ? แน่นอนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งของการทำงาน เราจะกลายร่างจาก “ลูกน้อง” สู่ “หัวหน้า”…

Morning Call | Podcast

LEGO เก้าอี้ แก้วกาแฟ กีต้าร์ ทำไมสิ่งเหล่านี้ต้องมีรู?

‘รู’ เป็นสิ่งที่เราทุกคนเห็นหลายครั้ง เห็นทุกวัน แต่บางครั้งบาง ‘รู’ ไม่รู้ว่ามีไว้ทำไม ในวันนี้จึงอยากจะยกตัวอย่าง 4 รู ที่คุณอาจจะเห็นทุกวันและอาจะไม่ได้สังเกตว่ามีไว้ทำไม …

Design You Don't See | Podcast

ดีไซน์อะไรบ้างที่ไม่เวิร์ก แต่ก็ใช้จนเคยชิน

อุปกรณ์หลายชิ้นที่อยู่รอบตัว อาจไม่ได้มีการออกแบบที่ดีไปทุกอัน  แต่น่าแปลกที่ทำไมเรายังใช้มันอยู่ทุกวันอย่างเคยชิน  Design You Don’t See EP 46 นี้ จะมาพูดคุยเกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์…

Podcast