Trending News

Subscribe Now

Creative Talk Weekend 2 – มองโอกาส E-Commerce หลัง Covid-19

Creative Talk Weekend 2 – มองโอกาส E-Commerce หลัง Covid-19

Article | Digital Marketing

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ เก่งและโจ้ rgb72 คุยกับคุณเมฆ นิธิ สัจจทิพวรรณ Co-Founder and CEO MyCloudFulfillment ร่วมกับคุณไว ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา Co-Founder and CEO Pricezaและนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มาพูดคุยถึงสถานการณ์ E-Commerce ไทยทั้งอดีต ปัจจุบัน และวันข้างหน้าที่ทุกคนควรจะวางแผนรับมือกัน

คุณไว Priceza : เวลาคนทำ E-Commerce เข้ามาร้านค้าเขาจะวัดและให้เกิดอัตราการซื้อเยอะที่สุด ปรากฏว่าอัตราการซื้อมันเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในบางกลุ่มสินค้า ประมาณ 100% เลยทีเดียว แต่บางกลุ่มมีอัตราการเติบโตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยผมคาดการณ์จากฝั่ง Consumer สินค้าที่โตขึ้นและลดลง โดยแบ่งออกเป็นสองช่วง 

ช่วงที่ 1 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และช่วงที่ 2 เดือนมีนาคม-เมษายน 

กลุ่มสินค้าที่โตขึ้น

1. สุขภาพและความงาม 34%
2. สินค้าอุปโภคและบริโภค 34% 
3. หนังสือ 27% 
4. เครื่องใช้ไฟฟ้า 22% 

รองลงมา คอมพิวเตอร์และเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน 

กลุ่มสินค้าที่ยอดขายลดลง

1. อุปกรณ์เสริมยานยนต์ -44%
2. เสื้อผ้าและแฟชั่น -41% 
3. อุปกรณ์สื่อสาร -27%

คุณเมฆ MycloudFulfillment : ช่วงที่ผ่านมาสองถึงสามเดือนนี้ เราโตขึ้น 3.5 เท่า 

คลังสินค้าช่วงเดือนมกราคม เราส่งประมาณ 45,000 กล่อง เดือนกุมภาพันธ์ถัดมาเราส่งไป 80,000 กล่อง และเดือนล่าสุดเมษายน เราส่งทั้งหมด 150,000 กล่องครับ และเราคาดการณ์ว่าเดือนนี้ขึ้นไปถึงสองแสนแน่นอน ในมุมมองของผมเองสินค้าหลักๆ ที่โตขึ้น ผมแบ่งออกเป็น 4 อย่างด้วยกัน โดยสามอย่างแรกเป็นสินค้าที่เติบโตขึ้นครับ 

  1. สินค้าใหม่ เช่น แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ซึ่งเติบโตขึ้น 500% รวมถึงฟ้าทลายโจรที่โตขึ้นกว่า 3 ปีที่แล้วถึง 8 เท่า
  2. การกักตุนสินค้าแบ่งออกเป็นสินค้าอุปโภคอย่างครีม สบู่ สินค้าบริโภคอย่างมาม่า เป็ปซี่ รวมถึงเครื่องสำอางต่างๆ
  3. สินค้ากลุ่ม Household อย่างกระทะ หม้อทอดไร้น้ำมัน

แต่ก็มีสินค้าที่ยอดขายลดลงครับ คือ สินค้าแฟชั่น เพราะคนไม่ได้ออกจากบ้าน


คุณไว Priceza : ผมคิดว่าเทรนด์ไม่น่าจะแตกต่างจากปัจจุบันมากเท่าไหร่ แม้สถานการณ์ตอนนี้จะเริ่มคลี่คลาย แต่พฤติกรรมของผู้คนยังไม่มั่นใจอย่างร้านอาหารเริ่มทยอยเปิดแล้วแต่บรรยากาศยังค่อนข้างโล่ง 

รวมถึงออฟฟิศบางแห่งยังยึดว่าให้ทำงาน Work From Home ตลอดเดือนพฤษภาคมนี้อยู่ ซึ่งผมคิดว่าสิ่งนี้จะเป็น New Normal คนจะหันมาสนใจอะไรที่เกี่ยวกับบ้านมากขึ้น จากเดิมเราใช้เวลาในบ้านไม่ได้มากเท่าไหร่ แต่พอเราต้องใช้ชีวิตแบบนี้ก็ทำให้พบว่ายังขาดของบางอย่างในบ้าน 

ฉะนั้นแล้วผมยังเชื่อว่า ของใช้ในบ้าน เครื่องครัวหรืออะไรก็ตามที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ในบ้านดีขึ้นมันยังเป็นกระแสต่อไปในปีนี้ครับ 

คุณเมฆ MyCloudFulfillment : อย่างแรกเลยผมคิดว่าจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่กลับมาหลังจากเหตุการณ์นี้ เช่น ตอนนี้คนไปต่างจังหวัดและไปทำงานได้ สินค้าแฟชั่นอย่าง แว่นกันแดด รองเท้า หรืออะไรต่างๆ พวกนี้จะกลับมาหลังจากที่ติดลบ ด้วยความสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย คนจึงเริ่มคิดถึงพฤติกรรมเก่าๆ เรียกว่าเป็นจังหวะของคนที่ขายของแฟชั่นเลยก็ว่าได้ครับ 

รวมถึงเครื่องสำอางเอง คนซื้อก็เรียนรู้แล้วว่ามันไม่เหมาะการซื้อผ่าน E-Commerce เท่าไหร่ เพราะไม่ได้ทดลองสีต่างๆ รวมถึงสินค้าที่ต้องทดลอง หน้าร้านจะกลับมาเติบโตครับ 

แต่ว่าก็มีบางสินค้าที่ถึงแม้การขายหน้าร้านจะกลับมาเปิดแล้วแต่ไม่เติบโต เช่น สินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต อย่างผงซักฟอกที่หนักมากๆ 18 กิโลกรัมหรือน้ำดื่มเป็นลิตร เราต้องขับรถไปซื้อแล้วแบกของพวกนี้กลับบ้าน สินค้าพวกนี้ถ้าเราสั่งออนไลน์ก็รอมาส่งที่บ้าน แน่นอนว่าสะดวกสบายกว่าซื้อหน้าร้านอยู่แล้ว รวมถึงสินค้าบริโภค พฤติกรรมแต่ก่อนเรา Eat out บ่อย ด้วยสถานการณ์ตอนนี้เรา Eat in แม้จะคลี่คลายลงแล้ว ทุกคนค้นพบว่าการทำอาหารทานเองที่บ้านไม่ใช่เรื่องแย่อะไร การออกไปทานข้าวตอนนี้ก็ไม่ได้รู้สึกปลอดภัยสักเท่าไหร่ 


คุณเมฆ MyCloudFulfillment : ลำบากเลยครับ โดยเฉพาะจีน ทุกคนติดขัดหมด มีหลายคนยกเลิกสัญญาไปเพราะสถานการณ์โควิด-19 นี้เลยครับ 

หลังจากนี้เองผมก็คิดว่ายังไม่ได้กลับมาง่ายๆ เพราะยังไม่มีมาตรการหรือกฎหมายที่ชัดเจนว่าสินค้าไหนสามารถเอาเข้ามาได้ 

คุณไว Priceza : สินค้าที่เป็น Global Collection โดยเฉพาะจีนลดบทบาทไปเยอะ คนสั่งสินค้าจากกลุ่มนี้น้อยลง เพราะสั่งเสร็จคนก็เห็นแล้วว่าต้องรอนานมากๆ

คุณไว Priceza : ก่อนหน้านี้ช่องทางออนไลน์สำหรับคนไทยเป็นช่องทางการขายเสริม แต่หลังจากโควิด-19 แล้วผมคิดว่ามันเป็นช่องทางหลักแล้วที่คุณต้องไป เพราะตอนนี้ถ้าคุณไม่ขายออนไลน์ คุณก็จะขายไม่ได้เลย 

ธุรกิจที่ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงตอนนี้มีอยู่ 2 ประเภท

1. ธุรกิจที่ปรับตัว Digital Transformation อย่างหนักในก่อนหน้านี้ เขาจะมีช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่มีฐาน Follower อยู่แล้ว สถานการณ์ตอนนี้เราจึงเห็นพวกเขาไลฟ์ขายของ

2. ธุรกิจที่ยังไม่ได้ปรับตัวมาทาง Digital มากนัก เราจะเห็นว่าเขาปรับตัวได้ยาก ต้องบอกว่าคนที่ไม่มีฐาน Digital มาก่อน พอวิกฤตมาเราไม่สามารถสร้างได้ทันท่วงที หลังจากนี้เราจะเห็นธุรกิจมาลงทุนสร้างฐาน Digital อย่างเห็นได้ชัด 

คุณเมฆ MyCloudFulfillment : อย่างแรกเทรนด์จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่าลงทุนสินค้าตามเทรนด์ บางคนตอนนี้มาขายสินค้าแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ไม่ทันแล้วครับ อย่างบางอาชีพที่เราเห็นว่ามั่นคง เช่นนักบิน กลายเป็นว่าตอนนี้ก็ไม่มีงานทำเลยครับ 

สิ่งที่จะต้องคิด คือ ไลฟ์สไตล์ของคน อย่าไปขายสินค้าตามเทรนด์ เช่น ก่อนหน้านี้วัยรุ่นไปสยาม แล้วตอนนี้เขาทำอะไรกัน ไปอยู่ในกลุ่มความเข้าใจของคนให้ได้ ดูมิชชั่นของธุรกิจเราว่าแก้ไขปัญหาของคนกลุ่มไหน ถ้ามันตอบโจทย์คนชัดเจนจะไม่เกี่ยวกับวิกฤตแล้วครับ

อย่างที่สอง คือ สิ่งที่ศึกษาอย่างชัดเจน เราต้องทำความเข้าใจช่องทางให้ลึก เช่น การขายของ ยกตัวอย่างลูกค้าของเราเองเป็นสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง เดิมทีเขาขายออฟไลน์ 17 ช่องทาง ตอนนี้เขาไม่มีช่องทางออฟไลน์เลย เขาก็เปลี่ยนมาไลฟ์ขายของอย่างเดียวเลย แล้วยอดมันก็โตขึ้นมาได้ 

หลังจากไลฟ์แล้ว เราก็ต้องทำช่องทางให้คนเหล่านั้นเข้าไปที่ธุรกิจของเราต่อ เช่น เว็บไซต์ LINE Official อันนี้เคล็ดลับเลยนะครับ พยายามลากลูกค้าที่ซื้อครั้งแรกให้เขาไปซื้อช่องทางของเราในครั้งต่อไป เราจะได้ไม่โดนการหัก GP และควบคุมเขาได้ครับ 

อย่างสุดท้ายผมคิดว่า ยุคที่เรากำลังเผชิญวันข้างหน้า มันไม่ใช่ยุคแห่งความมั่นคงแล้ว แต่เป็นยุคแห่งความยืดหยุ่น ทุกอย่างเปลี่ยนเร็วมาก ฉะนั้นอะไรไม่เก่ง ไม่ต้องทำ 

รับชม Creative Talk Weekend มองโอกาส E-Commerce หลัง COVID-19 ย้อนหลัง ได้ที่ Facebook Page Creative Talk

Related Articles

Threads แอปผู้พิฆาตนกฟ้า ที่กลายเป็นแพลตฟอร์มที่โตเร็วที่สุดในโลก (ตอนนี้)

⭐ Facebook กว่าจะมีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ใช้เวลา 10 เดือน
⭐ Spotify มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ใช้เวลา 5 เดือน
⭐ ChatGPT มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ใช้เวลา 5 วัน

Article | Business

3 สิ่งที่ผู้นำตัวจริงควรทำทุกวัน

ผู้นำแบบไหนที่โลกต้องการในศตวรรษที่ 21การเปลี่ยนแปลงในอนาคตไม่เลือกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง หัวหน้า หรือนั่งเก้าอี้ผู้บริหาร

Article | Entrepreneur