Trending News

Subscribe Now

7 Checklist เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ Social Media Strategy

7 Checklist เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ Social Media Strategy

Article | Digital Marketing

เพื่อให้ใช้งาน social media ได้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับธุรกิจ เราจำเป็นต้องมี social media strategy ที่ดีครับ หัวใจหลักของการทำงานให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือการวางแผนที่ดีนั่นเองครับ หากท่านใดยังไม่มี strategy ตรงนี้แล้วกระโดดไปลงมือทำทันที อาจจะทำให้ไร้ทิศทางและเกิดปัญหาการทำงานภายหลังได้ครับ โดยเฉพาะถ้าเราเป็นองค์กรที่มีบุคลากรหลายคนดูแลเรื่องการทำ digital marketing และ social media

ผมเชื่อว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ให้กับทั้งธุรกิจที่ยังไม่เคยทำ social media strategy เลยและธุรกิจที่เคยทำแล้วก็สามารถนำข้อมูลนี้ไปตรวจสอบและปรับใช้ได้ต่อไปครับ

1. ตั้งเป้าหมายในการทำ social media ของธุรกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก

ก่อนที่จะเริ่มลงมือวางแผนและทำ social media marketing สิ่งแรกที่ทุกธุรกิจควรทำคือตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่แรกครับ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานของเราว่าเราต้องการจะให้เกิดผลสำเร็จอะไรต่อธุรกิจของเราครับ ยกตัวอย่างเช่น

  • เราอยากจะเพิ่มยอดขายทางออนไลน์หรือออฟไลน์
  • ขยายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ
  • สร้างการรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมที่เราทำ
  • เพิ่มยอดลงทะเบียนรายชื่อและข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย
  • หรือเพิ่มยอดคนดาวน์โหลด app ของเรา  

ซึ่งเมื่อเราตั้งเป้าหมายการทำ social media ของธุรกิจของเราให้ชัดเจนตั้งแต่แรกแล้ว ต่อไปการวางแผนและทำงานจะได้ไม่หลงทางและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เราต้องการได้นั่นเองครับ เพิ่มเติมอีกนิดครับ การมียอด follower เยอะ ๆ หรือมี engagement เยอะ ๆ ไม่ใช่เป้าหมายของธุรกิจนะครับ พวกนั้นเป็นผลลัพธ์ที่จะได้จากการทำ social media marketing ครับ 

Social Media Strategy

2. ทำความเข้าใจและรู้จักกลุ่มเป้าหมายของเราให้ดี

เรื่องต่อไปที่สำคัญไม่แพ้กับเรื่องการตั้งเป้าหมายคือ การรู้จักและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของเราครับ

  • พวกเขาอายุเท่าไหร่
  • มีพฤติกรรมการเสพสื่อและใช้สื่อ social media อย่างไร
  • มีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหนบ้าง
  • รายได้เท่าไหร่
  • สนใจเรื่องอะไร

ข้อมูลเหล่านี้จะมีความสำคัญมากเมื่อเราต้องทำ targeting เพื่อเข้าถึงพวกเขาต่อไปครับ 

Social Media Strategy

3. ศึกษาและวิเคราะห์สิ่งที่คู่แข่งของเราทำ

อีกเรื่องที่ควรจะเริ่มทำก่อนลงมือทำงานจริงคือ เข้าไปศึกษาคู่แข่งของเราครับว่าปัจจุบันคู่แข่งของเรานั้นมีการทำการตลาดบน social media อย่างไรบ้าง

  • เน้นเรื่องอะไร นำเสนออย่างไร
  • ใช้ platform ไหน
  • มีผลการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายอย่างไรมากน้อยแค่ไหน (engagement rate)
  • โพสต์ถี่แค่ไหน
  • โพสต์ตอนไหน
  • ใช้โพสต์ประเภทไหนบาง (รูปภาพ วิดีโอ link Stories Live)

ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์คู่แข่งนี้สามารถใช้พวก social monitoring software ต่าง ๆ ได้ครับเพื่อลดเวลาการทำงาน แต่ต้องแลกด้วยการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีกหน่อยเท่านั้นเองครับ 

Social Media Strategy

4. เลือก social network ที่เหมาะสมกับเรา

เมื่อรู้แล้วว่าเป้าหมายของธุรกิจเราคืออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร คู่แข่งทำอะไรบ้าง เราก็จะสามารถเลือก social network ที่เหมาะสมกับเราได้ต่อไปครับ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายของเราไม่ได้อยู่ใน Twitter เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Twitter เพียงเพื่อแค่ให้มีครับ หรือหากเราไม่จำเป็นต้องนำเสนอวิดีโอที่มีความยาวมากกว่า 2 นาที เช่นพวกวิดีโอแนะนำการใช้สินค้า เราก็ไม่จำเป็นต้องมี YouTube ก็ได้ครับ สู้เอาเวลาและงบประมาณไปลงกับ platform ที่เหมาะสมกับธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของเราดีกว่าครับ 

Social Media Strategy

5. วางแผน content strategy ของเรา

เมื่อรู้แล้วว่าเป้าหมายคืออะไร จะเข้าถึงใครบน platform ไหน ขั้นต่อไปคือการวางแผนเรื่องการสร้างเนื้อหาครับ หรือเรียกว่าการทำ content strategy ซึ่งรวมถึง

  • บุคลิกและลักษณะ (character and personality)
  • วิธีการในการนำเสนอเนื้อหาและตอบโต้กับกลุ่มเป้าหมาย 
  • ความถี่ในการโพสต์ในแต่ละ platform
  • ความยาวของแต่ละโพสต์แต่ละ platform
  • เสาหลักของเนื้อหา (content pillar)
  • ประเภทของเนื้อหา (format) ที่เหมาะสม สำหรับแต่ละ platform

รวมถึงการใส่ call to action แบบต่าง ๆ ด้วยครับ 

Social Media Strategy

6. วางแผนการใช้ทรัพยากรของเรา

ขั้นต่อไปเราต้องวางแผนแล้วครับว่าเราจะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง เช่น

  • เวลาในการวางแผนและศึกษาคู่แข่ง
  • ทรัพยากรบุคคลที่ต้องใช้ในการผลิต content
  • เราจะใช้ in-house หรือจ้าง agency หรือ freelance
  • software หรือ tool ต่าง ๆ ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง (Social monitoring, social listening, Google Analytics กรณีส่ง traffic ไปที่เว็บไซต์ เป็นต้น)
  • และที่สำคัญ งบประมาณที่เหมาะสมที่จะครอบคลุมส่วนงานวางแผน ผลิต และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายครับ

นอกจากนั้นเรายังต้องวางแผนการทำงานกับทีมงานและฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่น ใครจะดูแลเรื่องไหนบ้าง ใครจะเป็นคนตัดสินใจ ใครดูแลเรื่องการผลิตเนื้อหาและ monitor ใครดูเรื่องการวัดผลนั่นเองครับ

Social Media Strategy

7. วางแผนเรื่องการวิเคราะห์และวัดผล

สุดท้ายคือ วางแผนเรื่องการวิเคราะห์และวัดผลครับ เพื่อระบุว่า social media marketing ที่เราทำ ส่งผลอย่างไรต่อเป้าหมายทางธุรกิจที่เราตั้งไว้ครับ ยกตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายทางธุรกิจของเราคือการเพิ่มยอดขาย เราต้องวัดผลเรื่อง conversion เป็นหลักเพื่อดูผลลัพธ์ว่า social media marketing ที่เราทำก่อให้เกิดการสั่งซื้อ (checkout) หรือใส่ในรถเข็น (add to cart) เท่าไหร่ หากเป้าหมายของเราคือต้องการสร้างการรับรู้ เราต้องมาดูว่าสิ่งที่เราทำก่อให้เกิด Visibility เท่าไหร่ หรือแม้แต่การที่เราตั้งเป้าหมายในการสร้างแบรนด์ของเรา เราสามารถดูเรื่องของ Advocacy ได้ว่ามีคนติดตามและการมาเป็นกระบอกเสียงของแบรนด์เพิ่มขึ้นแค่ไหนครับ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ครับ ตั้ง KPI การทำ Social Media Marketing ด้วย Audience Experience 4 แกน เมื่อได้ข้อมูลของผลลัพธ์สิ่งที่เราทำแล้ว เราสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อไปได้ครับว่าสิ่งที่เราทำอะไรดีไม่ดีและจะปรับอะไรตรงไหนเพื่อปรับปรุงให้การทำ social media marketing ของเราดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกครับ 

Social Media Strategy

เชื่อว่า 7 ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณวางแผนการทำ social media strategy ให้กับธุรกิจของคุณเองได้ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องรู้ก่อนครับว่าเราต้องการทำ social media ไปเพื่ออะไร อย่าเพียงทำเพราะทุกคนทำหรือทำเพียงแค่ ‘เพื่อให้มี social media’ หรือเพื่อให้มี impression เยอะ ๆ นะครับ เมื่อเราวางแผนได้ชัดเจนแล้วก็จะสามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้ได้ต่อไปครับ

บทความโดย: คุณณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา
Chief Digital Officer & Co-Founder at The Flight 19 Agency

Related Articles

“รู้เขา รู้เรา” 5 เทคนิคทำงานกับ Blogger ร้อยครั้ง ก็เวิร์กร้อยครั้ง!

ทำไมใช้ Blogger แล้วไม่เวิร์กอย่างที่คิด?… เชื่อว่าปัญหานี้เกิดกับใครหลายคนที่อยากจะโปรโมทแบรนด์ ทำแคมเปญบางอย่างโดยใช้ Blogger เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญในเชิงการโฆษณา สร้าง Awarness ไปจนถึงการเพิ่มยอดขาย…

Article | Digital Marketing

ความพยายามอยู่ที่ไหน แล้วเราจะเจออะไรอยู่ที่นั่น

ความพยายามในหลายครั้งถูกพูดถึงแนวคิดที่เรียกว่า GRIT ซึ่งหมายถึง ความทรหดอดทน เป็นความมุ่งมั่นกับการทำบางอย่างให้สำเร็จอย่างไม่ย่อท้อ

Article | Living

คุยกับเจ้าของเพจคิ้วต่ำ นักวาด-นักเขียนที่ใช้คอนเทนต์โอบกอดผู้คนมา 9 ปี

หากย้อนกลับไปในยุคหนึ่งนั้น บน Facebook เคยเต็มไปด้วยคอนเทนต์คำคม ที่มาทั้งในรูปแบบข้อความล้วน ๆ และในรูปแบบของข้อความสั้น ๆ ที่มาพร้อมกับรูปวาดน่ารัก ๆ เข้ามาช่วยโอบกอดหัวใจคนอ่าน…

Article | Living