Trending News

Subscribe Now

6 Consumer Insight น่าสนใจที่คนทำคอนเทนต์ต้อง THINK และ SHIFT

6 Consumer Insight น่าสนใจที่คนทำคอนเทนต์ต้อง THINK และ SHIFT

Article | Digital Marketing

Shift ไปอีกขั้นของการใช้ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย วันนี้ Creative Talk พาคุณไปเจาะลึกข้อมูลและเทรนด์น่าสนใจ จากงาน Thailand Zocial Awards 2020 Forum Day ในหัวข้อ “The Shift of Consumer Insight” โดยคุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO บริษัท Wisesight จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในปี 2019

1. Conversation Shift: จำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยเท่าเดิม เพิ่มเติมคือปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น! 

Consumer Insight

จากข้อมูลพบว่า จำนวน “ผู้ใช้งาน” โซเชียลมีเดียของคนไทยปี 2019 อยู่ที่ 74% ซึ่งไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ที่น่าสังเกตคือ “จำนวนข้อความ” ที่มีการพูดถึงอยู่บนโซเชียล เพิ่มขึ้นถึง 36% เลยทีเดียว นั่นหมายถึงผู้ใช้มีการใช้งานและอยู่กับโซเชียลมากขึ้นกว่าก่อนมาก

Consumer Insight

นอกจากนั้น ยังพบว่า 89% ของธุรกิจมีการใช้โซเชียลมีเดียมากกว่า 2 แพลตฟอร์ม เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค ซึ่งคำถามที่ตามมาก็คือ เราจะวัดได้อย่างไรว่า คอนเทนต์นั้น ปัง หรือ ไม่ปัง! engagement ที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าไหร่ และค่ามาตรฐานสำหรับประเภทธุรกิจที่เราอยู่ควรเป็นแบบไหน และนั่นคือข้อต่อไปที่เราจะพูดถึงกัน

2. P90 : ค่ามาตรฐาน engagements ของโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม

Consumer Insight

เวลาเราทำคอนเทนต์แต่ละครั้ง เคยคิดไหมว่า ยอด reachs, engagments และ views เท่าไหร่ถึงเรียกว่า “ดี” ใช้ค่าอะไรเป็นตัววัด แต่ละแพลตฟอร์มและอุตสาหกรรมอยู่ที่เท่าไหร่ จากการรวบรวมข้อมูล จึงได้สรุปเพื่อเป็นแนวทาง ที่เรียกว่า “P90” ซึ่งมีค่า engagments ของคอนเทนต์ ที่ถ้าทำได้ตามนี้ถือว่าคอนเทนต์เราอยู่ในระดับดีและปังแน่นอน

  • Facebook = 1,297 engagements
  • Twitter = 201 engagements
  • Instagram = 938 engagements
  • YouTube = 630,408 views

ทั้งนี้ค่า engagements อาจเปลี่ยนไปในแต่ละประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม

3. Multi – Categories Influencers : อินฟลูเอนเซอร์หนึ่งคน ไม่ได้ทำคอนเทนต์ดีแค่สายเดียว 

Consumer Insight

มากกว่า 97% ของอินฟลูเอนเซอร์ ทำคอนเทนต์มากกว่า 2 หมวด เช่น คนหนึ่งอาจจะทำได้ทั้งท่องเที่ยวและอาหาร หรืออีกคนหนึ่งทำได้ทั้งอาหารและฟิตเนส ซึ่งพอแยกหมวดออกมาละเอียดจริง ๆ ได้ถึง 13 หมวด 

เพราะฉะนั้น มันจะไม่ได้ตายตัวอีกต่อไปแล้วว่า อินฟลูเอนเซอร์คนนี้ทำได้เฉพาะเรื่องเดียว แต่นักการตลาดต้องมาดูด้วยว่า หมวดอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่เขาทำได้ดี และคนดูสนใจมีเรื่องอะไรบ้าง ตรงกับจุดประสงค์และลักษณะของแคมเปญเราด้วยหรือเปล่า

4. ลูกทุ่ง is Rock! : โอกาสของการสร้าง content ที่ทรงพลัง

Consumer Insight

จากข้อมูลพบว่า 12 จาก 20 อันดับ ของ top playlist บน YouTube คือ เพลงลูกทุ่ง แสดงว่า มีคนใช้งานจำนวนมากที่เข้าถึงคอนเทนต์แนวนี้ เพียงแต่เราไม่เคยรู้ เพราะฉะนั้น เพลงลูกทุ่ง อาจะเป็นประตูหนึ่งที่เราจะสร้าง mass content ให้คนได้รับรู้ถึงธุรกิจเราได้ในวงกว้าง ถ้านำมาประยุกต์ใช้ได้ถูกที่ ถูกเวลา

5. Dark Side : อย่ามองข้าม Shit !

Consumer Insight

จากข้อมูลที่ Wisesight รวบรวม พบว่า….

1.2 แสน ข้อความบนโซเชียลมีเดีย มีการพูดถึง การพนัน

มากกว่า 7.5 แสน ข้อความพูดถึง การกลั่นแกล้ง (Bullying)

และ 1.3 ล้าน ข้อความ พูดถึงการขายบริการทางเพศอย่างเปิดเผย…

หมายความว่า ข้อมูลอันมหาศาลบนโซเชียลมีเดียนั้น มีการพูดถึงทั้งด้าน “ดี” และ “ไม่ดี” และจากสถิติการใช้งานโซเชียลของผู้ใช้งานจากที่กล่าวมา อาจพูดได้ว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันของคน และมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและสิ่งต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น มันจึงพาเราไปข้อที่ 6 ที่กำลังจะอธิบายต่อไปนี้คือ…

6. Cross-platform Benchmark Measurement :  เชื่อมโยงข้อมูล หา Insight เชิงลึก

Consumer Insight

เมื่อโซเชียลมีเดียมีพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงความคิดคนและสิ่งต่าง ๆ ในสังคม ในมุมที่เราอาจจะมองไม่เห็น การทำ Social Mornitoring จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์หรือธุรกิจต้องเริ่มให้ความสำคัญ เราจะได้รู้ว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหาที่ธุรกิจเรากำลังเผชิญอยู่ คนแต่ละแพลตฟอร์มเขาคิด เขาพูดอะไรกัน และสิ่งจูงใจสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมของคนเหล่านั้นเปลี่ยนไปเกิดจากสิ่งใด เพื่อจะได้รู้ Insight แท้จริงของลูกค้าจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยงหลาย ๆ แพลตฟอร์ม ว่าจริง ๆ แล้วตอนนี้ลูกค้าเขาเจอปัญหาอะไร และเราสามารถแก้ไขปัญหาให้เขาได้ไหม และต้องทำอย่างไร 

ทั้ง 6 ข้อ ถือเป็นอีกหนึ่งที่คนทำคอนเทนต์หรือนักการตลาดจะนำไปเป็นไอเดียคิด ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในงานตัวเองได้ ไม่ใช่แค่การมีข้อมูลไว้ในมือเพียงอย่างเดียว สิ่งที่สำคัญคือต้องวิเคราะห์เชื่อมโยงหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ แพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจอคำตอบจริงที่ซ่อนอยู่ อย่างที่คอนเซปต์งานกล่าวไว้อยู่แล้วว่า “SHIFT” ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งของการใช้ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย

Related Articles

วิธีการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดย CEO ระดับโลก

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรว่ายากแล้ว การรักษานั้นยากกว่า แต่ที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรครับ โดยเฉพาะถ้าเราเป็นผู้บริหารคนใหม่ที่ต้องการเข้าไปพลิกธุรกิจให้ดีขึ้น การเข้าไปเปลี่ยนวัฒนธรรมเดิมถือเป็นงานสำคัญอย่างหนึ่งของผู้นำองค์กร หรือแม้แต่เราเป็นผู้นำในบริษัทเดิมอยู่แล้วแต่อยากเปลี่ยนวัฒนธรรมแย่ ๆ ของคนในองค์กร มันเป็นเรื่องที่ท้าทายมากพอสมควรเลยครับ…

Article | Entrepreneur

3 สัญญาณเตือนที่กำลังบอกว่า วัฒนธรรมองค์กรของเรากำลังมีปัญหา

เมื่อวัฒนธรรมองค์กรแย่ ๆ ทำให้ธุรกิจตกต่ำลงหรือเติบโตช้า ผู้บริหารส่วนใหญ่สามารถมองเห็นปัญหาและรู้ได้ว่าต้นเหตุจากวัฒนธรรมองค์กร แต่ก็มีอีกหลายธุรกิจที่ยังดำเนินต่อไปได้ กับปัญหาที่ซ่อนเร้นไว้เป็นเหมือนเนื้อร้ายที่ค่อย ๆ กัดกร่อนจิตใจพนักงานและองค์กรลงเรื่อย ๆ คำถามคือ…

Article | Entrepreneur