ถ้าทุกอย่างดูขัดขวางสมาธิไปหมด จะมีอะไรพอเป็นตัวช่วยได้บ้าง?
ปัจจุบันเราโดนสิ่งเร้ารอบตัวรบกวนทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับงานใดงานหนึ่งได้นาน หรืออาจจะด้วยหน้าที่การงานบีบบังคับให้เราต้อง Multi-tasking หรือทำหลายๆ สิ่งพร้อมๆ กัน เลยทำให้เราเกิดอาการ “สมาธิสั้น” ได้ง่ายขึ้น
จากหนังสือ “Hyper Focus” ของ Christ Bailey ได้พูดถึงเรื่อง “เวลา 40 วินาที” ไว้ โดยอ้างอิงจากวิจัยของคุณ Gloria Mark จาก University of California, Irvine ผู้ที่เชี่ยวชาญและศึกษาเรื่อง Attention & Multi-tasking โดยในงานวิจัยนี้ เธอทดลองร่วมกับบริษัท Microsoft ศึกษาเรื่อง Distraction (การโดนรบกวนเราออกจากงานที่เราตั้งใจจะทำ) พบว่าทุกๆ 40 วินาที เราจะแว็บไปทำอย่างอื่นในระหว่างเรากำลังทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ โดยที่ 40 วินาทีนั้น อาจจะลดลงไปเหลือ 35 วินาทีหากมีการใช้ Social Media อย่าง LINE ที่เตือนการเข้ามาของข้อความ นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบอีกว่าเรามีการสลับไปมาในการใช้แอปฯในมือถือหรือแท็บเล็ตมากกว่า 566 ครั้งต่อวัน หรือแม้กระทั่งคนที่เล่น Facebook เปิดแอปฯนี้บ่อยถึง 38 ครั้งในแต่ละวัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ หลังจากที่เราโดนรบกวนโดยสิ่งเร้าต่างๆ แล้วนั้น เราต้องใช้เวลาถึง 25 นาที ในการกลับมาโฟกัส และยิ่งเราอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ความสามารถในการกลับมาโฟกัสก็ยิ่งลดลง
ต่อไปนี้จึงเป็น 5 วิธีการรับมือ ที่จะช่วยให้เราได้กลับมาโฟกัสกับงานตรงหน้าได้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1. ‘ทำตาราง’ โดยแบ่งเป็น 4 ช่อง แบบ 2 x 2
- ควบคุมไม่ได้ + น่ารำคาญ เช่น โดนนัด Meeting กระทันหัน
- ควบคุมไม่ได้ + น่าพอใจ เช่น คนที่เรารักโทรมา
- ควบคุมได้ + น่ารำคาญ เช่น งานที่ต้องทำประจำ
- ควบคุมได้ + น่าพอใจ เช่น เล่น Social Media
เมื่อแบ่งเป็น 4 กลุ่มแล้ว เราจะพบว่าสิ่งที่ควบคุมได้เกิดจาก “เรา” แต่สิ่งที่ควบคุมไม่ได้เกิดจาก “คนอื่น” อย่างไรก็ตามถึงเราจะควบคุมไม่ได้เราก็ต้อง “ตั้งใจ” ที่จะจัดการมากขึ้น
2. ‘แก้ปัญหาตามตารางในข้อ 1’
- ควบคุมไม่ได้ + น่ารำคาญ เช่น ระบุเวลา บล็อกเวลาที่คนอื่นมาแทรกไม่ได้
- ควบคุมไม่ได้ + น่าพอใจ เช่น Enjoy the moment
- ควบคุมได้ + น่ารำคาญ เช่น จัดการกับมันก่อนล่วงหน้า
- ควบคุมได้ + น่าพอใจ เช่น ปิดมือถือ ไม่เข้าแชท
3. หาเครื่องมืออื่นๆ ที่จะมาช่วย
เช่น ลบแอปฯ และใส่ Plug-in ใน Brave บล็อก FB Feed
4. ออกจากสถานที่ทำงานเดิมๆ
สร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อหลีกหนีจากสิ่งแวดล้อมที่จะมารบกวนเรา
5. ลองจัดเวลาสำหรับลดการโดนรบกวน
โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ
- Distraction-free Mode ห้ามให้ใครมากวนเลย
- Limited Distraction Mode ยังพอมีคนติดต่อได้บ้าง แต่ลดการรบกวน
เพราะการทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกันนั้นไม่ใช่ทักษะที่ดีนักสำหรับมนุษย์ เนื่องจากสมองไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหลายสิ่งพร้อมกัน ดังนั้นประสิทธิภาพของการทำงานจึงสู้การโฟกัสทำงานทีละอย่างไม่ได้ และกลายเป็นสมาธิสั้นไปแทน ดังนั้นเพื่อเป็นการทำให้คุณโฟกัสกับงานได้ดีขึ้น คุณอาจจะต้องลองเอา 6 เทคนิคนี้ไปปรับใช้กันดู
เนื้อหาบางส่วนจากรายการพอดแคสต์ Rise & Shine 113 Distractions 4 รูปแบบ และวิธีรับมือเพื่อการทำงานที่ดีขึ้น โดย อาจารย์ภูมิ ถิรพุทธิ์ ปิติฉัตร
เรื่อง: ป่าน – อดามาส
Content Creator ผู้ชอบงานเขียนมากกว่าทุกสิ่ง และชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตที่หาคำตอบไม่ค่อยเจอ