Trending News

Subscribe Now

เล่ายังไงให้น่าติดตาม เทคนิคสร้างเรื่องจากเรื่องราวภายในบ้าน

เล่ายังไงให้น่าติดตาม เทคนิคสร้างเรื่องจากเรื่องราวภายในบ้าน

Article | Living

SC ASSET For good mornings

CREATIVE TALK x PLOT by Readery ร่วมจัด Session ยามบ่ายของวันอาทิตย์ที่ผ่านมาใน Clubhouse ถึงเทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก โดยเป็นการร่วมสร้างสรรค์ไปกับ SC ASSET ที่ชวนให้ทุกคนลองหยิบยกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นภายในรั้วบ้าน มาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการสร้างพล็อตเรื่อง ในคอนเซปต์ “SC ASSET For good mornings” 

สำหรับใครที่ไม่ได้ฟังในวันนั้น นอกจาก Podcast ที่ใหัฟังย้อนหลังได้แล้ว เรายังมีสรุปหลักพื้นฐาน 4 ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีเขียนบทให้ชวนติดตาม ทำเอาคนอ่าน คนฟัง หรือคนดูอยากรู้เรื่องต่อแบบติดหนึบ 

1. IDEA สารตั้งต้น

ไม่ใช่เป็นเพียงประโยคบอกเล่า แต่ต้องมีปมปัญหาคาใจ ใส่ความขัดแย้ง (Conflict) ลงไปให้เป็นประเด็นชวนสงสัย สร้างความตื่นเต้น ว่าใครทำอะไร อย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นเรื่องขึ้นมา เช่น วันหนึ่งเมื่อกลับถึงบ้านก็พบว่าห้องของเรากลายเป็นห้องอื่นไปเสียแล้ว

2. THEME แก่นเรื่อง

เป็นหลักยึดของผู้เล่าที่ต้องคอยกลับมาตอบโจทย์ ขมวดจบเรื่องให้ลงตรงตามธีม ต้องไม่ใช่ประโยคคำถามแต่บอกบทสรุปที่เป็นทางออกของปัญหานั้นไว้แล้ว คล้ายๆ กับตอนจบของนิทานอีสป “เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…” ฝากไว้เป็นข้อคิดทิ้งท้าย ซึ่งแก่นเรื่องที่ดีควรมี 3 องค์ประกอบ ดังนี้

  • จุดศูนย์ถ่วงของเรื่อง หลักใหญ่ใจความสำคัญที่ทำให้เรื่องราวเกิดขึ้นและคลี่คลายลงได้
  • เข้าใจได้ในทันที   บอกเล่าออกมาด้วยประโยคสั้นๆ ที่จริงแท้ ลึกซึ้ง แต่เรียบง่าย
  • เป็นสากล คนกว่า 80% จะต้องเห็นด้วยหรือเชื่อมั่นในสิ่งนั้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อโตขึ้นเราจะรู้เองว่า อะไรควรทิ้ง อะไรควรเก็บ, อย่าทำตามอำเภอใจโดยไม่ถาม เพราะความปรารถนาดีอาจกลายเป็นการยัดเยียดให้ใครรู้สึกดี, ความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นที่จะพิสูจน์รักแท้ สามารถเอาชนะความเชื่อของคนยุคเก่าที่ยากจะเปลี่ยนได้ เป็นต้น

3. CHARACTER ตัวละคร

เป็นตัวแทนเล่าฉากและเหตุการณ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พาไปพบเห็นแง่มุมต่างๆ ที่สะท้อนผ่านสายตาตัวละคร ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังสัมผัสปฏิกิริยาแวดล้อม รับรู้ความรู้สึกนึกคิด ติดตามทำความเข้าใจจนเกิดอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครนั้นๆ ด้วย

4. PLOT ผูกปม

เริ่มต้นวางเส้นเรื่อง ลำดับการเล่า มีจุดพลิกผันไปสู่จุดเปลี่ยน ให้ตัดสินใจทำ หรือแก้ไขความเชื่อ โดยที่ต้องฝ่าฟันปัญหาอย่างมีความหวัง พบวิธีเอาชนะอุปสรรคได้ จนกระทั่งเรื่องราวคลี่คลาย ลงเอยด้วยดี หรือทิ้งไว้ให้เป็นบทเรียน

ใครอยากรู้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มเติม ต้องลองไปฝึกตามพี่เก่ง พี่เน็ต และพี่โจ้ทั้งสองได้ที่

🎧 SoundCloud: http://bit.ly/2OUDHyO
🎧 Spotify: http://spoti.fi/2NLRaZj
🎧 PodBean: https://bit.ly/3keO109
🎧 Apple Podcast: http://apple.co/3buKeIn

Related Articles

ทำไมป้ายในสนามบินถึงใช้ฟอนต์เหมือนกัน ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมป้ายในสนามบินถึงมักจะใช้ฟอนต์ที่เหมือนกัน ทำไมบริเวณเกตที่เรารอเครื่องบินมักจะเป็นกระจกบานใหญ่ ๆ ทั้งที่มันทำให้แสงแดดเข้า ทำให้เปลืองไฟและทำให้ร้อน ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง แล้วชั้นขาออกถึงอยู่ชั้นบน แล้วทำไมพื้นที่เกตมักจะเป็นพรม แต่พื้นบริเวณก่อนถึงเกตมักจะเป็นหินหรือกระเบื้อง…

Creative/Design | Design You Don't See | Podcast

ปั้นไอเดียอย่างไรให้เป็นธุรกิจ

จากจุดเริ่มต้นของความชอบ จนกลายมาเป็นแพลตฟอร์มในการแชร์เรื่องราว มาพบกับการทำให้ไอเดียที่กลายมาเป็นธุรกิจของคุณปิ๊ปโป้ เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์

Article | Business

Speech AI เทคโนโลยีเพื่ออนาคตจากผู้พิการทางสายตา

KEY POINTS: เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยผู้พิการรับรู้ข่าวสารและสื่อสารถึงกันได้เหมือนคนทั่วไป  ปัญหาผู้พิการไม่มีงานทำ ส่วนอุตสาหกรรม AI ขาดแคลนคน ทำให้ Volcan เป็นเจ้าแรกของโลกที่นำผลวิจัย…

Article | Technology