Trending News

Subscribe Now

4 เรื่องด้านมืดของ Empathy ที่เรานึกไม่ถึงและควรระวัง

4 เรื่องด้านมืดของ Empathy ที่เรานึกไม่ถึงและควรระวัง

Article | Living

หนึ่งในศัพท์ทางจิตวิทยาที่กำลังถูกใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน คือ คำว่า “Empathy” หรือ การเอาใจเขามาใส่ใจเราและรู้สึกร่วมไปกับอีกฝ่าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวงการไหน คุณก็จะได้ยินคำว่า Empathy ควบคู่กับการจัดการเรื่องคนเสมอ เพราะทุกคนต่างก็อยากได้รับความเข้าใจโดยไม่ตัดสินใดๆ  แต่ใครจะรู้บ้างว่า การมี Empathy ที่ผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลกระทบที่เสียหายได้

เรื่องราวด้านมืดของ Empathy นี้นั้น ดร. พอล บลูม (Dr. Paul Bloom) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย เยล ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “Against Empathy: The Case for Rational Compassion” ว่า Empathy ไม่ได้มีแต่ด้านดีๆ ที่เราอยากช่วยเหลือผู้อื่น แต่กลับมาผลเสียด้วยหากเราให้ความรู้สึกร่วมกับอีกฝ่ายมากจนเกินไป


4 ด้านมืดของ Empathy

1. ช่วยเหลือคนได้แค่บางกลุ่ม

เมื่อเราเกิดอารมณ์ร่วมที่รุนแรงกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ คนใดคนหนึ่ง เราก็จะโฟกัสไปกับคนแค่กลุ่มนั้น เป็นเหมือนกับ Spotlight การช่วยเหลือไปที่คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ในขณะที่คนกลุ่มอื่นๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน อาจจะโดนเพิกเฉย ไม่ได้รับความสนใจ


2. ช่วยเหลือคนอื่นมากเกินไปจนหมดพลัง

ในบางกรณีเมื่อเราให้ความช่วยเหลือคนอื่นมากเกินไป จนเราอาจจะรู้สึกท่วมท้น หรือ เหนื่อยมากเกินไป จนไม่อยากช่วยเหลือคนอื่นอีกเลยก็เป็นได้ ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพ ก็เหมือนตอนที่ Superman ในช่วงแรกๆ ที่ไม่สามารถควบคุมพลังของตัวเองในการได้ยินเสียงช่วยเหลือของคนทุกคนได้ จนสุดท้ายสร้างความลำบากให้กับตัวเอง หรือแม้กระทั่งตอนที่เราเองได้รับรู้เรื่องราวแย่ๆ จากคนรอบข้างเยอะๆ ติดๆ กัน หากเรารู้สึกร่วมไปกับทุกสถานการณ์ เราก็จะรู้สึกจมดิ่งไปกับความรู้สึกแย่ๆ เหล่านั้น จนทำให้ตัวเองแย่ไปด้วยนั่นเอง


3. มีความลำเอียงต่อคนใกล้ตัว

ข้อเสียอีกอย่างของ Empathy ก็คือ เรามักจะมีแนวโน้มที่จะมีอารมณ์ร่วมกับคนใกล้ตัวมากกว่าคนไกลตัว ดังนั้นเมื่อคนใกล้ตัวต้องการความช่วยเหลือ เราก็เลือกที่จะช่วยเหลือ หรือ ลัดคิวเพื่อคนที่เรารู้จักมากกว่าไปช่วยเหลือคนไม่รู้จักก่อน โดยที่เรามีอคติหรือความลำเอียงกับคนที่ใกล้ตัวเรา หรือ เหมือนเรา


4. เพิกเฉยคนที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าโดยไม่รู้ตัว

ต่อเนื่องจากข้อสาม เมื่อเรามีแนวโน้มที่จะมีอคติต่อคนใกล้ตัวเรามากกว่าเรา เราก็อาจจะเผลอไปช่วยเหลือคนใกล้ตัวเราก่อนโดยที่ไม่ได้สนใจว่า คนไกลตัวเราอาจจะต้องการความช่วยเหลือมากกว่า หรือเร่งด่วนกว่า 


ดร. พอล บลูม จึงแนะนำในหนังสือของเขาว่าเราควรจะใช้ความคิดมากกว่าหัวใจ โดยที่เขาสนับสนุนให้ทุกคนลองใช้ compassion หรือ ความเมตตากรุณาในการร่วมตัดสินว่าเราจะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไรบ้าง (moral reasoning) เพราะการใช้ Empathy ที่มากเกินไปนอกจากจะเกิดอคติและความลำเอียงจนเกิดเป็นการแบ่งพรรคแบ่งพวกแล้ว ยังเป็นเส้นบางๆ ที่ทำให้คนบางกลุ่มยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้นวันนี้เราลองมาดูกันว่า ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่เรามีนั้น เราสามารถกระจายออกไปเพื่อช่วยเหลือคนวงกว้างมากขึ้น และยกระดับสังคมเราให้ดีขึ้นได้อย่างไรกันจะดีกว่า 

Related Articles

เราควรทำอย่างไร ถ้าการใช้ Email ก็ทำให้โลกร้อนได้

อย่างที่รู้ว่าในปัจจุบันเราส่งข้อความ แชร์รูปภาพ ดาวน์โหลดเพลง ดูออนไลน์สตรีมมิ่งต่างๆ กันได้เพียงคลิกเดียว ทว่าพฤติกรรมออนไลน์ทุกอย่างของเราต่างก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายในหนึ่งคลิกเช่นกัน

Article | Technology

4 ข้อเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนให้คุณเป็นผู้ถามที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ตั้งใจ

ผู้ถามที่ดีเป็นอย่างไร ผู้ฟังที่ดีเป็นแบบไหน หรือบทสนทนาที่ดีคือบทสนทนาอะไร ท่ามกลางโลกแห่งการสื่อสารแบบไร้รอยต่อ แต่เรากลับเข้าใจคู่สนทนาของเราน้อยลงไปเรื่อยๆ  I Will Podcast “จะทำทั้งที ต้องทำให้ได้”…

Article | Creative/Design | Uncategorized

Safety Bag ถุงใส่ผักผลไม้ที่กำจัดจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้

เมื่อชาวจีนต้องตกอยู่ในความเสี่ยงของสารพิษที่ปนเปื้อนมากับผักผลไม้ บ่อเกิดของโรคมะเร็ง ..เทสโก้จีน จึงร่วมกับเอเจนซี่ฮ่องกง ผลิต “Safety Bag” ถุงใส่ผักผลไม้ที่กำจัดจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Photocatalyst ช่วยสลายสารเคมีเร่งโตของผักและสารเคมี เพียงใส่ผักผลไม้ไว้ในถุงทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด…

Article | Technology