Trending News

Subscribe Now

3 วิธีหลีกเลี่ยงภาวะหมดไฟในการทำงาน Work From Home

3 วิธีหลีกเลี่ยงภาวะหมดไฟในการทำงาน Work From Home

Article | Living

หลายคนทั่วโลกประสบปัญหาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างกระทันหัน เพราะ COVID-19 จากเดิมทำงานที่ออฟฟิศ ปัจจุบันทำงานที่บ้าน ต้องปรับตัวกับอุปกรณ์และขั้นตอนการทำงานแบบใหม่ ซึ่งความกังวลเรื่องต่อมาของหัวหน้างานคือ เมื่อพนักงานทำงานที่บ้านแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีเท่าเดิม จึงนำมาซึ่งรายการงานต่าง ๆ ที่มากขึ้นและต้องเร่งทำให้เสร็จ โดยที่ลืมว่าผลในระยะยาวอาจทำให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าสะสมจากการทำงานอย่างต่อเนื่อง และนำมาสู่อาการของคนที่หมดใจ หมดไฟในการทำงานไปในที่สุด

ปัญหาที่คนทำงานต้องเจอ เมื่อ Work From Home 

เมื่อคนเริ่มทำงานที่บ้านจะเริ่มพบปัญหาหลายอย่าง เช่น ต้องเรียนรู้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้ทำให้รู้สึกลำบากในช่วงแรก การติดต่อคุยงานที่ยุ่งยากไม่เหมือนกับมานั่งคุยกัน การที่ต้องตอบอีเมลทันทีแม้จะเป็นช่วงเวลาหลังเลิกงานหรือวันหยุด ถึงแม้งานนั้นจะไม่เร่งด่วนก็ตาม การที่ต้องถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมในบ้าน เช่น เสียงเด็ก เสียงสุนัข และสุดท้ายเมื่อบ้านและที่ทำงานกลมกลืนเป็นพื้นที่เดียวกัน มีผลทำให้ใครหลายคนเริ่มรู้สึกแยกเวลาไม่ออกว่า เวลาไหนควรทำงาน เวลาไหนควรพัก เพราะทุกๆ วันในความรู้สึกกลายเป็นวันทำงาน และวันหยุดก็ไม่มีอยู่จริง เกิดอาการเบื่อ ไม่อยากทำงาน ผลในระยะยาวคือประสิทธิภาพการทำงานลดลง

3 วิธีหลีกเลี่ยงอาการหมดไฟในการทำงาน จาก Work From Home

เราจะจัดการแบ่งเขตเวลาการทำงานและชีวิตส่วนตัวในห้องเล็ก ๆ นี้ได้อย่างไร โดยที่ชีวิตไม่ห่อเหี่ยวไปเสียก่อน 3 เทคนิคนี้อาจช่วยคุณได้

1. เริ่มวันใหม่ด้วยแต่งตัวเสมือนไปทำงานที่ออฟฟิศ

จริงอยู่ว่าข้อดีของการทำงานที่บ้านคือ เราไม่ต้องไปเหนื่อยเบียดเสียดคนเพื่อเดินทางไปทำงานจะตื่นกี่โมงก็ได้ แถมตื่นมาก็ทำงานได้เลยทันที แต่จะไม่ดีอย่างยิ่งหากเราทำงานในชุดนอนแบบนั้นทั้งวัน เพราะการแต่งตัวที่สบายๆ ความรู้สึกเราจะบอกว่ามันคือการอยู่บ้าน แต่เมื่อใส่ชุดทำงานหมายถึงการที่เราพร้อมทำงาน เพราะฉะนั้นในแต่ละวันหลังจากตื่นนอนควรอาบน้ำเรียบร้อย แต่งตัวด้วยชุดทำงานเหมือนไปทำงานจริง ๆ ทำงานเสร็จก็ถอดชุดออก การทำแบบนี้จะช่วยให้เราแบ่งเขตของการทำงานและการอยู่บ้านได้อย่างชัดเจน

2. ค้นหาช่วงเวลาทองในการทำงานของคุณ

ปกติเวลาทำงานที่ออฟฟิศเราจะมีช่วงเวลาที่ชัดเจน เช่น 9 โมงเช้า – 6 โมงเย็น โดยมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานได้ดี แต่เมื่อเราต้องทำงานจากที่บ้าน แต่ละคนอาจมีปัญหาเรื่องสัดส่วนพื้นที่ทำงานไม่สะดวกสบาย หรือสิ่งรบกวนในบ้าน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทุกโรงเรียนต่างปิดกันหมด และเด็กต้องอยู่กับบ้าน ซึ่งพ่อแม่ก็ต้องดูแลลูกไปด้วย จนกลายเป็นว่าเวลา 9 โมงเช้า – 6 โมงเย็น นี้ จะไม่ใช่เวลาที่ทำงานได้อย่างมีสมาธิเหมือนตอนที่อยู่ออฟฟิศ ดังนั้น คุณต้องหาช่วงเวลาทองที่จะโฟกัสกับงานสำคัญของวันนั้นให้เสร็จ เป็นช่วงเวลาที่คุณจะทำงานจริงจรังโดยที่ไม่ต้องเข้าโซเชียล ไม่ต้องตอบแชตงาน ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ และแจ้งให้หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเข้าใจตรงกัน

3. โฟกัสกับการทำงานที่สำคัญที่สุดของวันนั้น

คนเราอาจจะทำงานได้หลายอย่างในหนึ่งวัน แต่พลังงานของเรามีจำกัด จากงานวิจัยพบว่า คนจะทำงานได้มีประสิทธิภาพสุด ๆ ได้ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน และต้องปราศจากการขัดจังหวะหรือการที่ต้องทำงานหลายอย่างไปพร้อมกัน แต่สำหรับคนทำงานที่บ้านจะถูกกดดันด้วยเหตุผลที่ว่าเราต้องมีผลงานส่ง จึงทำให้หลายคนเน้นไปทำงานที่ทำได้เร็ว จบเร็ว เน้นปริมาณ แทนที่จะโฟกัสกับงานที่สำคัญที่สุด ซึ่งในระยยาวทำให้พนักงานต้องเจอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนจัดลำดับความสำคัญไม่ได้ เพราะฉะนั้นควรเริ่มจากการโฟกัสงานที่สำคัญที่สุดในวันนั้น และเคลียร์มันให้จบซะ

ถึงแม้ว่ายุคนี้จะเป็นยุคของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่ผสมผสานกันจนแยกไม่ออก และคำที่ว่า Work Life Balance ไม่มีจริง แต่สิ่งสำคัญคือเราจะจัดการสองส่วนนี้ให้บาลานซ์กันได้อย่างไร แต่สุดท้ายไม่อยากให้มองว่าชีวิตเราเป็นตามยุคสมัยไหนๆ เพราะสภาพร่างกายและจิตใจแต่ละคนต่างกัน การมองและยอมรับตัวเอง โดยที่ไม่ต้องฝืนเกินไป จะช่วยให้เราหาวิธีปรับตัวในแบบของแต่ละคนได้ ก่อนที่จะหมดไฟโดยไม่รู้ตัว

เรื่อง : ดวงพร วิริยา
ภาพ :  สุธาทิพย์ อุปสุข

อ้างอิง : hbr.org/2020/04/3-tips-to-avoid-wfh-burnout 

Related Articles

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเด่นต้องใช้ AI เมื่อ AI ช่วยให้ Gen Z ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศในที่ทำงานได้

งานวิจัยของ March Pew Research ได้ระบุถึงการสำรวจผู้ใหญ่ในอเมริกากว่า 10,701 คน แล้วพบว่าคนที่อายุ 18-29 ปีมีแนวโน้มที่จะรู้จัก AI มากกว่ากลุ่มอายุอื่น และคน 18% จากในกลุ่มนี้ ต่างใช้ ChatGPT เพื่อการทำงานทั้งสิ้น

Article | Living

ย้อนดู Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค Part 2

บทความนี้ต่อจากเรื่อง Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค part ที่แล้ว ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต เช่น…

Creative Wisdom | Digital Marketing | Podcast

สำรวจสถานการณ์ COVID-19 โลก ผ่านคนไทย 5 ประเทศ

ปลายเดือนธันวาคมปีก่อนเป็นครั้งแรกที่โลกพบกับกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนก่อนเชื้อดังกล่าวจะแพร่กระจายไปทั่วโลกจากเอเชียสู่ทั่วทุกทวีปในโลก มีคนไทยหลายคนตัดสินใจเดินกลับภูมิลำเนาของตัวเองแต่ก็ยังมีบางคนที่ตัดสินใจอยู่ประเทศนั้นต่อ Creative Talk คุยกับพวกเขาเหล่านี้ถึงสถานการณ์โควิด-19 ในแต่ละประเทศ หมายเหตุ: บทสัมภาษณ์นี้สัมภาษณ์เมื่อวันวันพฤหัสบดีที่…

Article | Living