Trending News

Subscribe Now

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับสนามบินต้าซิงของจีน ที่กำลังจะเป็นสนามบิน “ที่สุด”​ ของโลก

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับสนามบินต้าซิงของจีน ที่กำลังจะเป็นสนามบิน “ที่สุด”​ ของโลก

Article | Creative/Design | Entrepreneur

สนามบินนานาชาติต้าซิงปักกิ่ง หรือชื่อเต็มภาษาอังกฤษคือ Beijing Daxing International Airport ที่เพิ่งได้ชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กันยายนปี 2561 ที่ผ่านมานั้นกำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 30 กันยายน 2562 แล้ว ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูสวยงามแปลกตา เหมือน “ปลาดาว” และความยิ่งใหญ่อลังการของสนามบินแห่งนี้ ทำให้เป็นอีกหนึ่งสนามบินของโลกที่เราจะ “ไม่รู้จักไม่ได้” แล้ว

และนี่คือ Fact เกี่ยวกับสนามบินต้าซิงที่คุณควรรู้

โครงการนี้เพิ่งเริ่มต้นเมื่อ 5ปีที่แล้วเท่านั้น

สนามบินต้าซิง daxing airport

โครงการสร้างสนามบินแห่งนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายปี 2014 และมีกำหนดสร้างเสร็จ phase แรกวันที่ 15 กรกฏาคมนี้ โดยสามารถเปิดให้บริการประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กันยายน 2562 ซึ่งรวมเวลาในการเริ่มโครงการและสร้างจนเสร็จสิ้นใน phase แรก ก็ใช้เวลาเพียงแค่ 5ปีเท่านั้น

ตัวเลขการก่อสร้างที่ไม่ธรรมดา

สนามบินต้าซิง daxing airport

สนามบินต้าซิงใช้งบประมาณในการสร้างอยู่ที่ 9,350ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1แสนล้านบาทไทย โดยใช้คนงานก่อสร้างทั้งหมด 8,000 คน ใช้เหล็กทั้งหมด 2แสนตัน ทำให้มีพื้นที่ใช้สอยเฉพาะตัวอาคารหลักมากถึง 6แสนตารางเมตร หรือเท่ากับสนามฟุตบอล 80 สนามรวมกัน! ที่สำคัญสนามบินแห่งนี้จะมีทั้งหมด 8 runways 268 ช่องจอด และนั่นทำให้สนามบินต้าซิงเป็นสนามบินที่มีขนาดของตึกเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สนามบินต้าซิง daxing airport

ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง

แน่นอนว่า สนามบินใหม่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยระบายนักท่องเที่ยวจากสนามบินนานาชาติปักกิ่ง (Beijing Capital International Airport) ที่ปัจจุบันต้องแบกรับนักท่องเที่ยวมากถึง 101ล้านคนต่อปี ซึ่งล้นความสามารถที่กำหนดไว้อยู่ที่ 83ล้านคนเท่านั้น

สนามบินต้าซิง daxing airport

ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวมากมายขนาดนี้ ทำให้ สนามบินนานาชาติปักกิ่ง (Beijing Capital International Airport) เป็นสนามบินที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากสนามบินฮาร์ตฟิลด์-แจ๊คสัน และเหนือกว่าอันดับสามอย่างสนามบินนานาชาติดูไบ ซึ่งรับคนอยู่ที่ 89 ล้านคน

สนามบินนานาชาติต้าซิงเมื่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ในปี 2025แล้วคาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 72ล้านคนต่อปี รับการขนส่งสินค้าได้มากถึง 20ล้านตัน และรับเครื่องบินได้มากถึง 620,000 ลำ

อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเมือง

สนามบินนานาชาติต้าซิงนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองปักกิ่ง แค่ลงไปทางใต้จากตัวเมืองไม่ถึง 50กิโลเมตรก็จะพบกับสนามบินรูปปลาดาวแห่งนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่า 50กิโลเมตรจะดูเหมือนไม่ไกลแต่การเดินทางสาธารณะนั้นได้มีวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินให้บริการ

ออกแบบโดยทีมงานระดับโลก

สนามบินนานาชาติต้าซิงที่มีรูปร่างแปลกตาแห่งนี้ เราอาจจะไม่สงสัยเลยถ้าได้รู้ว่า ทีมงานที่ออกแบบสนามบินคือทีมของบริษัทที่ชื่อ Zaha Hadid บริษัทสถาปนิกชื่อดังที่ออกแบบอาคารรูปทรงแปลกตาแต่สวยงามมามากมายอย่าง Heydar Aviyev Center, Guangzhou Opera House, สะพาน Sheikh Zayed

ภาพ Heydar Aviyev Center

สรุป

ช่วงหลัง ๆ นี้เราได้เห็นสนามบินแถบเอเชียมีการพัฒนาและขยายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสนามบินต้าซิงแห่งนี้ หรืออย่างสนามบินชางฮีของสิงคโปร์ที่เชื่อว่าจะครองอันดับหนึ่งสนามบินที่ดีที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นสิ่งที่พอจะทำให้เรามองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นถึงการเติบโตทางฝั่งเอเชีย ที่แน่นอนว่าแม้แต่ประเทศไทยเองที่ปัจจุบันนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ควรจะหยุดนิ่งด้วยเช่นกัน

สนามบินนานาชาติต้าซิง

Related Articles

จาก Aeron สู่ Cosm เก้าอี้ Ergonomic ที่ถูกพัฒนาเพื่อมนุษย์ออฟฟิศซินโดรม

คุณคิดว่าในแต่ละวันเราใช้เวลาไปกับอะไรมากที่สุด คำตอบของใครหลายคนอาจเป็นการเดินทาง ด้วยสภาวะการจราจรกรุงเทพฯ ที่ต้องติดบนท้องถนนไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข พบว่า 24 ชั่วโมงของคนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการทำงาน 7-8 ชั่วโมง…

Article | Creative/Design

13 ประเภทของลูกค้าที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับธุรกิจ Creative Business

หลังจากไปเขียนซีรี่ย์ เรื่องเล่า Culture มาสักพัก ครั้งนี้กลับมาเขียนเรื่องการรันธุรกิจ Agency หรือ Creative Business กันต่อนะครับ …

Article | Digital Marketing

ทำงานตอนดึก คิดงานได้มากกว่า ทำไมเราถึงชอบทำงานตอนกลางคืน?

ถ้าห้าทุ่มแล้วยังเปิดอ่านบทความนี้เราคือเพื่อนกัน…ถ้าไม่นับงานที่ยังไม่เสร็จ หรือการทำงานแบบเกินเวลา คนส่วนใหญ่ รวมถึงตัวผู้เขียนเองก็เป็นคนที่ชอบเอางานมานั่งคิด นั่งปั่นตอนกลางคืนมากด้วยหลาย ๆ เหตุผล

Article | Creative/Design | Living